Sample gallery images
การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ข้าฯ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแนวทางดำเนินงาน โครงการ กิจกรรม และตัวอย่างตัวชี้วัดความสำเร็จ เพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ไว้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแนวทางดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล
กลยุทธ์ ๑.๑ พัฒนาหลักสูตรให้มีความเป็นเลิศ แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) พัฒนาหลักสูตรเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
๒) พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้าน หลักสูตรฐานสมรรถนะ เช่น ห้องเรียน Gifted, EP (English Program), MEP (Mini English Program), พิเศษภาษา (MLP), SMTE, STEAM เตรียมแพทย์, เตรียมเภสัชกร, เตรียมผู้พิพากษา, เตรียมศิลปิน, เตรียมวิศกร, เตรียมนักธุรกิจ, เตรียมนักการทูต, เตรียมทหาร ตำรวจ เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ ๑.๒ พัฒนาการจัดการการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลแนวใหม่ แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency Based Education: CBE)
๒) ส่งเสริมการวัดและประเมินผลสภาพจริง ด้วยเครื่องมือ และวิธีการวัดที่หลากหลาย
๓) จัดทำระบบธนาคารสะสมหน่วยกิต (Credit Bank)
๔) พัฒนาระบบเทียบโอนและระบบทดสอบมาตรฐาน เช่น TOEFL, TOEIC, CEFR, IELT, CU-TEP, TU-GET เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
กลยุทธ์ที่ ๒.๑ ยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) ยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกวิชาตามหลักสูตรสถานศึกษา
๒) ยกผลการทดสอบระดับชาติ เช่น O-NET, TGAT, TPAT, A-level เป็นต้น
๓) ยกระดับผลการทดสอบนานาชาติ เช่น PISA เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ ๒.๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและนำเสนอผลงานได้อย่างมีคุณภาพ
๒) ส่งเสริมการใช้ภาษาที่ ๒-๓ เพื่อการสื่อสารและอาชีพ อาทิ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, เป็นต้น
๓) ส่งเสริมการสร้างสมรรถนะของผู้เรียน เช่น ความสามารถด้านการคิด, ความสามารถด้านการสื่อสาร, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพ
๔) ส่งเสริม ต่อยอด สนับสนุน ผู้เรียนที่มีความสามารถด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านดนตรี ศิลปะ และด้านอื่น ๆ อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
๕) ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้คิดค้นพัฒนานวัตกรรม พัฒนาตนเอง พัฒนาศักยภาพ และเข้าร่วมแข่งขัน แลกเปลี่ยนทั้งระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ที่ ๒.๓ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดีและมีสุขภาวะที่ดี
๒) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เห็นคุณค่าแห่งตนเอง
๓) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นพลเมือง รู้รักสามัคคี มีจิตสาธารณะ และมีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง
๔) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะการอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรมที่แตกต่างในโลกยุคปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ
กลยุทธ์ที่ ๓.๑ จัดครูให้ตรงวิชาเอก เพียงพอและมีครูเจ้าของภาษาที่ ๒-๓ แนวทางดำเนินงาน ได้แก่
๑) จัดครูสอนตรงวิชาเอกหรือความสามารถ ความถนัด
๒) จัดหาครูวิชาเอกที่ขาดแคลนให้เพียงพอกับปริมาณภาระงานสอนของครูในสถานศึกษา
๓) จัดหาครูชาวต่างชาติสอนภาษาที่ ๒-๓ (ครูภาษาอังกฤษ, ครูภาษาจีน, ครูภาษาญี่ปุ่น, ครูภาษาเกาหลี เป็นต้น)
๔) สร้างเครือข่ายครูภูมิปัญญา ศิษย์เก่าที่ประสบผลสำเร็จ เป็นวิทยากรเสริมทักษะทางวิชาชีพให้แก่ผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ ๓.๒ พัฒนาศักยภาพให้ครูเป็นมืออาชีพ แนวทางดำเนินงาน
๑) ส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษามีความภูมิใจในวิชาชีพ สร้าง Growth Mindset
๒) ส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID-Plan)
๓) ส่งเสริมการให้ครู บุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองที่หลากหลายและต่อเนื่อง
๔) ส่งเสริมการให้ครู บุคลากรทางการศึกษาใช้สื่อ เทคโนโลยี ดิจิทัล ในการจัดการเรียนการสอนและปฏิบัติราชการ
กลยุทธ์ที่ ๓.๓ สร้างขวัญกำลังใจและเพิ่มพลังบวก แนวทางดำเนินงาน มีดังนี้
๑) จัดสวัสดิการภายในสถานศึกษาที่หลากหลาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดทั้งผู้เกี่ยวข้อง อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๒) ส่งเสริมครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญ และมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น
๓) ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ให้รางวัล ให้ความดี ความชอบ แก่ครูดี เป็นแบบอย่างและมีผลงานเชิงประจักษ์
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ ๔.๑ พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แนวทางดำเนินงาน
๑) บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล แบบสมดุลรอบด้าน(BSC) และแบบมีส่วนร่วม(PM)
๒) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องบริบท ความต้องการจำเป็น และนำสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
๓) น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ พร้อมขยายผลสู่ชุมชน
กลยุทธ์ที่ ๔.๒ พัฒนาระบบความปลอดภัยในสถานศึกษา แนวทางดำเนินงาน
๑) พัฒนาอาคาร สถานที่ ให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย สะอาด เป็นระเบียบ มีความเป็นสัดส่วน มีบรรยากาศที่ดี และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒) พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ
๓) ส่งเสริมการสร้างความปลอดภัยภายในสถานศึกษาทุกรูปแบบ
กลยุทธ์ที่ ๔.๒ พัฒนาประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายในและประกันคุณภาพภายนอก แนวทางดำเนินงาน
๑) เพิ่มประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๒) บริหารจัดการตามมาตรฐานโรงเรียนสากล (World-Class Standard School)
๓) สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมการประเมินคุณภาพภายนอก
กลยุทธ์ที่ ๔.๒ พัฒนาสื่อ เทคโนโลยี ดิจิทัล และแหล่งเรียนรู้ แนวทางดำเนินงาน
๑) จัดหาคอมพิวเตอร์ สื่อ เทคโนโลยี ให้เพียงพอและมีคุณภาพ
๒) พัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ครอบคลุมพื้นที่ ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
๓) ส่งเสริมการใช้แฟลตฟอร์มทางการศึกษา (Digital Learning Platform)
๔) พัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิต (Living Library)/ห้องสมุดดิจิทัล
๕) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้หลากหลาย เอื้อต่อการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ทุกที่
๖) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ภายนอก ช่วยจัดการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๕.๑ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการศึกษา แนวทางดำเนินงาน
๑) ระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
๒) ส่งเสริมความเข้มแข็งของสมาคม มูลนิธิ ชมรมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า
๓) ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชน มีส่วนร่วมอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ ๕.๒ สร้างเครือข่ายทางการศึกษา แนวทางดำเนินงาน
๑) สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา (Partnership School) อาทิ โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง, โรงเรียนคู่ขนาน, มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง, เครือข่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเฉพาะด้าน เป็นต้น