ประวัติโรงเรียนบรบือวิทยาคาร
โรงเรียนบรบือวิทยาคาร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา แบบสหศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2514 ตั้งอยู่เลขที่ 59 ถนนแจ้งสนิท หมู่ที่ 16 คุ้มศรีพิลา ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ 17.20 ตารางวา ปีแรกได้รับอนุมัติให้เปิด 2 ห้องเรียน โดยอาศัยอาคารโรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ปีงบประมาณ 2515 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารประกอบอื่น ๆ จึงได้ย้ายจากโรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) มาตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ปีการศึกษา 2538 เปิดสอน 50 ห้องเรียน นักเรียน 2,229 คน ครู 83 คน ในปีนี้โรงเรียนเปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่ม 2 ห้องเรียน มี นายพงษ์สวัสดิ์ ลาภบุญเรือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 8
ปีการศึกษา 2542 เปิดสอน 54 ห้องเรียน นักเรียน 2,808 คนครู 83 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน ปวช. 2 ห้องเรียน มี นายทองม้วน สิงห์สู่ถ้ำ เป็นผู้อำนวยการระดับ 9
ปีการศึกษา 2544 เปิดสอน 57 ห้องเรียน นักเรียน 2,237 คน ครู 87 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน มี นายไพบูลย์ อนุแสน เป็นผู้อำนวยการระดับ 8
ปีการศึกษา 2545 เปิดสอน 54 ห้องเรียน นักเรียน 2,334 คน ครู 89 คน
มี นายประกาย บัตรศิริมงคล เป็นผู้อำนวยการระดับ 9
ปีการศึกษา 2546 เมื่อมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2546 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร ได้ยุบรวมเข้ามาอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนเปิดสอนหลักสูตร ปวช. เป็นปีสุดท้าย จึงเปิดสอนเฉพาะช่วงชั้นที่ 3-4 มีจำนวน 53 ห้องเรียน นักเรียน 2,200 คน ครู 87 คน นางสุมาลย์ สุรมณี เป็นผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปีการศึกษา 2549 เปิดสอนเฉพาะช่วงชั้นที่ 3-4 มีจำนวน 53 ห้องเรียน นักเรียน2,340 คน
ครู 88 คน บุคลากรทางการศึกษา 5 คน พนักงานราชการ 1 คน มีนายพิศิษฐ์ วรรณศรี
เป็นผู้อำนวยการระดับ 8 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549
ปีการศึกษา 2550 ในปีนี้โรงเรียนเปิดสอนระดับ ปวช. พาณิชยกรรม ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาขึ้นใหม่อีก 2 ห้องเรียน โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ช่วงชั้นที่3 และ 4) โดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 )และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2524 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ) ของกระทรวงศึกษาธิการเรื่อยมา ในปีการศึกษา 2545 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่ายตั้งแต่ปี 2545 และโรงเรียนบรบือวิทยาคารได้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นต้นมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และได้พัฒนาให้เป็นหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และได้จัดให้นักเรียนได้เลือกเรียนอย่างหลากหลายเต็มตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังจัดให้มีการเลือกกิจกรรมชุมนุมเสริมหลักสูตรตามความถนัดและความสามารถของนักเรียน
ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเปิดทำการสอน โรงเรียนเปิดช่วงชั้นที่ 3-4 โดยเปิดสอนหลักสูตร ปวช. และหลักสูตรตามโครงการ Mini English Program จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 54 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 2,329 คน จำนวนครู 89 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 103 คน มีนายพิศิษฐ์ วรรณศรี เป็นผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดช่วงชั้นที่ 3-4 โดยเปิดสอนหลักสูตร ปวช. และหลักสูตรตามโครงการ Mini English Program จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 61 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 2,330 คน จำนวนแยกเป็นนักเรียนชาย 987 คน นักเรียนหญิง 1,343 คน จำนวนครู 100 คน ลูกจ้างประจำ 6 คน พนักงานราชการ 3 คน พนักงานราชการ 3 คน พนักงานธุรการ 2 คน เจ้าหน้าที่สำนักงาน 2 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 113 คน มีนายพิศิษฐ์ วรรณศรี เป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนคนปัจจุบัน
แผนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในอนาคต โรงเรียนมุ่งพัฒนาโรงเรียนในทุก ๆ ด้านควบคู่กันไป โดยมีเป้าประสงค์ให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรู้ มีความสุขในสังคม อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ดำเนินการให้มีการบริหารจัดการโดยโรงเรียนเป็นฐาน ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ปัญหา หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น ครูและผู้บริหารต้องมีเป็นมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ โรงเรียนได้นำเทคโนโลยีมาสู่กระบวนการเรียนการสอน พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน และพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความดีความรู้และความสุขของผู้เรียนภาพอนาคต โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกับชุมชนในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ เป็นคนดี มีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ โดยให้มีองค์ประกอบที่เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ชูคุณธรรม นำกีฬา ร่วมพัฒนาสังคม นิยมไทย